วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2558

หน่วยที่  1
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบอาชีพค้าปลีกและค้าส่ง

ความหมายของการค้าปลีก
                ค้าปลีก  หมายถึง  การขายโดยไม่มีการเปลี่ยนรูปสินค้าทั้งสินค้าใหม่และสินค้าใช้แล้ว
ให้กับประชาชนทั่วไปเพื่อการบริโภคหรือการใช้ประโยชน์เฉพาะส่วนบุคคลในครัวเรือน
                การค้าปลีก  (Retailing)  หมายถึง  การขายสินค้าให้กับผู้บริโภคคนสุดท้าย  โดยการซื้อ
สินค้าของผู้บริโภคมีวัตถุประสงค์เพื่อบริโภคหรือเพื่อสมาชิกในครอบครัว  ผู้ค้าปลีกจะซื้อสินค้า
จากใครก็ได้  แต่ต้องขายสินค้าให้กับผู้บริโภคคนสุดท้ายเท่านั้น



รูปที่  1.1  ร้านค้าปลีก

ความสำคัญของการค้าปลีก
1.  ความสำคัญต่อผู้บริโภค  ธุรกิจค้าปลีกช่วยทำให้ผู้บริโภคมีความสะดวกและหาซื้อสินค้าได้ง่าย  รวดเร็วมากขึ้น และสามารถเลือกสินค้าได้ตามความต้องการ เช่น ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น
นำยาสีฟันใกล้ชิดมาจำหน่ายในร้านจำนวน  50  กล่อง  แต่ลูกค้าต้องการซื้อเพียง  1  กล่อง  ก็สามารถแบ่งขายได้โดยไม่ทำให้ส่วนที่เหลือเสียหาย

          2.  ความสำคัญต่อผู้ผลิตหรือผู้ค้าส่ง  ธุรกิจค้าปลีกจะช่วยเป็นตัวกลางระหว่างผู้ผลิตและ
ผู้ค้าส่งกับผู้บริโภค  ผู้ค้าปลีกสามารถช่วยส่งเสริมการตลาดโดยการโฆษณาสินค้าให้แก่ผู้ผลิต และ
ผู้ค้าปลีกจะทราบรายละเอียดของลูกค้ามากกว่าผู้ผลิตหรือผู้ค้าส่ง  เพราะจะใกล้ชิดกับลูกค้ามากกว่า
สามารถแบ่งเบาภาระในการกระจายสินค้าของผู้ผลิตและผู้ค้าส่งได้ดี

                   

รูปที่  1.2  ร้านค้าปลีกขนาดเล็ก  และร้านค้าปลีกขนาดใหญ่

ลักษณะของการประกอบอาชีพค้าปลีก
                ร้านค้าปลีกในประเทศไทยมีจำนวนมาก  และมีการลงทุนในรูปแบบที่แตกต่างกันไปตาม
ลักษณะของร้านค้าปลีก  ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากลักษณะดังต่อไปนี้
1.   การดำเนินงานของกิจการค้าปลีก  ในการดำเนินงานของธุรกิจค้าปลีกนั้นสามารถทำ
ได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับรูปแบบของกิจการ  ประเภทของสินค้า  หรือสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง  เช่น
ใช้พนักงานขาย  ขายทางไปรษณีย์  หรือขายทางอินเตอร์เน็ต  เป็นต้น  ร้านค้าปลีกส่วนใหญ่มีขนาด
เล็ก  การดำเนินงานจะเป็นระบบครอบครัว  มีการจัดการไม่ซับซ้อน  เจ้าของจะเป็นผู้ดำเนินงานใน
ทุกเรื่อง
                2.  ผู้ประกอบการควรมีความรู้  ความสามารถ  ผู้ประกอบการค้าปลีกควรมีความรู้ความ
สามารถเกี่ยวกับการบริหารงานขาย  การจัดการ  การควบคุมสินค้า  การบัญชี  การเงิน  การตลาด
รวมทั้งการตัดสินใจในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ 



                                         รูปที่  1.3  การจัดวางสินค้า

3.  โอกาสในการประกอบอาชีพการค้าปลีก  ในปัจจุบันจะสังเกตเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลง
ทางสังคมเกิดขึ้นเสมอ  ซึ่งส่งผลกระทบต่อการค้าปลีก  เช่น  การมีร้านค้าปลีกในประเทศไทยอยู่
กระจัดกระจายทั่วทุกภาคของประเทศ  ได้แก่  ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น  เทสโก้โลตัส  เป็นต้น  ทำให้เป็นโอกาสสร้างรายได้ให้กับบุคคลที่ต้องการทำงานในร้านค้าปลีก





รูปที่  1.4  เทสโก้โลตัส

                4.  การมีมนุษยสัมพันธ์กับลูกค้า  ร้านค้าปลีกจะให้บริการโดยตรงกับผู้บริโภคคนสุดท้าย
ดังนั้นการบริการที่ประทับใจจึงถือเป็นหัวใจสำคัญของการค้าปลีก  เช่น  การทักทายลูกค้าด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส  ทราบความต้องการของลูกค้าและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันที  จะช่วยทำให้ยอดขายสินค้าเพิ่มขึ้นมาก



รูปที่  1.5  การบริการลูกค้า

                5.  ลักษณะเฉพาะของร้านค้าปลีก  ประเภทของสินค้าหรือบริการจะเป็นปัจจัยที่แสดงลักษณะของร้านค้าปลีก  เช่น  ร้านขายรองเท้า  ร้านขายยา  ร้านขายอาหาร  เป็นต้น  ร้านค้าเหล่านี้
จะแตกต่างกันด้วยการให้บริการ  สถานที่ตั้ง  กลุ่มลูกค้าที่ให้บริการ  ดังนั้นร้านค้าปลีกจะต้องทราบ
ถึงกลุ่มลูกค้าที่เป็นเป้าหมาย  และพัฒนาร้านค้าไปในแนวทางที่กำหนดไว้

แนวความคิดเกี่ยวกับการประกอบอาชีพค้าปลีก
          ร้านค้าปลีกแต่ละแห่งจะมีความแตกต่างกัน  ทั้งด้านนโยบาย  การบริหารจัดการ  การ
วางแผนดำเนินงาน  และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  เพื่อให้กิจการของตนเองประสบความสำเร็จตามที่ได้
ตั้งเป้าหมายไว้  ดังนั้น  ก่อนที่ผู้ประกอบการจะเริ่มต้นจัดตั้งร้านค้าปลีก  ก็ควรมีแนวคิดเกี่ยวกับ
การประกอบอาชีพค้าปลีกในเรื่องต่าง ๆ ต่อไปนี้
1.  ทัศนคติของผู้ประกอบอาชีพค้าปลีก  ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม(TraditionalTrade)
หรือร้านโชวห่วย  เป็นร้านจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคแบบเก่า  การจัดวางสินค้าไม่เป็นระเบียบ
ไม่ติดป้ายราคาสินค้า  มีสภาพเป็นร้านห้องแถวที่มีพื้นที่ไม่มากนัก  การจัดการเป็นแบบครอบครัว
เรียบง่าย  ไม่มีขั้นตอนหรือระบบในการจัดการ  และไม่ได้ใช้ความรู้ในเรื่องการจัดเรียงสินค้าและ
การบริหารสินค้าเท่าที่ควร  ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงนั้น


              
รูปที่  1.6  ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม

                2.  พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภค  ในปัจจุบันนี้พฤติกรรมผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมากทำให้รูปแบบการดำเนินชีวิตของคนไทยส่วนมากจะเน้นความสะดวก
รวดเร็วและทันสมัยมากขึ้น  และขนาดของครอบครัวจากอดีตที่มีครอบครัวขนาดใหญ่กับเปลี่ยน
มาเป็นขนาดเล็ก  จึงทำให้พฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนแปลงไป  นิยมซื้อสินค้าที่ร้านค้าปลีกสมัย
ใหม่แทนการซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกใกล้บ้าน





รูปที่  1.7  พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภค

                3.  ควรสร้างจุดเด่นให้เป็นเอกลักษณ์ของร้านค้าปลีก  ในปัจจุบันร้านค้าปลีกจำนวนมากที่ยกเลิกทะเบียนการค้าหรือปิดตัวเองลง  เพราะไม่สามารถปรับตัวหรือพัฒนาการบริการเพื่อเผชิญกับการแข่งขันในตลาดได้  ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านสะดวกซื้อสมัยใหม่มากขึ้น
เนื่องจากมีรูปแบบที่ทันสมัย  สะดวกสบาย  สามารถเลือกซื้อสินค้าเองได้





รูปที่  1.8  การสร้างจุดเด่นโดยมีการบริการจำหน่ายมุมเครื่องดื่ม

                4.  ควรพัฒนาและปรับปรุงกิจการอยู่เสมอ  ผู้ประกอบการต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง  ในปัจจุบันผู้บริโภคมีพฤติกรรมเลือกซื้อสินค้าจากร้านค้าสมัยใหม่เพิ่มมากขึ้น
เนื่องจากมีสินค้าหลายชนิดและมีรูปแบบความบันเทิงอื่น ๆ ซึ่งอยู่ภายในร้าน  ส่งผลกระทบ
ต่อร้านค้าปลีกบางแห่งที่ไม่พัฒนาปรับปรุงจำนวนมากจนต้องปิดกิจการลง




รูปที่  1.9  การจัดวางสินค้าเป็นหมวดหมู่

                5.  ควรศึกษากลยุทธ์ร้านค้าปลีกสมัยใหม่  ผู้ประกอบการค้าปลีกควรเรียนรู้กลยุทธ์ร้านค้าปลีกสมัยใหม่  ร้านค้าสะดวกซื้อหรือร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นจำนวนมาก  ซึ่งร้านค้าปลีกสมัยใหม่เหล่านี้จะเน้นการบริการแก่ผู้บริโภคเป็นหลัก  เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ซื้อที่ต้องการซื้อสินค้าเร่งด่วนหรือจำเป็น



รูปที่  1.10  การนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมาใช้ในกิจการ

                6.  ควรมีการวางแผนงานที่มีประสิทธิภาพ  ผู้ประกอบการควรวางแผนการทำงานที่ดีตั้งแต่เริ่มต้นจึงจะประสบผลสำเร็จ  ดังนั้น  การเลือกทำเลที่ตั้งคือการเริ่มต้นที่สำคัญของธุรกิจ
ค้าปลีก  เนื่องจากสินค้าหลักของกิจการค้าปลีกคือของใช้ในชีวิตประจำวัน  ทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม
ของธุรกิจค้าปลีกจึงควรตั้งอยู่ในชุมชนหรือสถานที่ที่มีผู้คนผ่านไปมา  เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี

                7. ควรคำนึงถึงหลักการบริหารร้านค้าให้มีประสิทธิภาพ  การประกอบธุรกิจค้าปลีกใน
ปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จได้นั้น  จำเป็นต้องมีการพัฒนาทุกด้าน  จึงควรทำความเข้าใจความ
ต้องการของผู้บริโภคแล้วนำมาปรับปรุงการบริหารร้านให้มีประสิทธิภาพ
                8.  ควรคัดเลือกสินค้าภายในร้านให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค  ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกควรคัดเลือกสินค้าภายในร้านให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคหรือลูกค้าดังนี้
                     8.1  ควรจะคำนึงถึงกลุ่มผู้บริโภคว่าเป็นกลุ่มใด  เพื่อที่ร้านค้าจะได้รู้ถึงความต้องการ
ของผู้บริโภค
                     8.2  การคัดเลือกสินค้าที่จะวางจำหน่าย  ควรมีสินค้าหลายยี่ห้อ  กลิ่น  สี  หรือรสในตัว
สินค้าประเภทเดียวกัน
                   8.3  ควรพิจารณาสินค้าแต่ละประเภทที่นำมาจำหน่ายนั้นควรจะมีขนาดใด โดยดูจาก
พฤติกรรมผู้บริโภคและลักษณะการใช้งานของสินค้า
                     8.4  การกำหนดราคาขาย  ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้า  และควรสังเกตการตั้งราคาขาย
                9.  ควรให้ความสำคัญในการบริการ  ผู้ประกอบการสมัยใหม่ควรใส่ใจกับการบริการให้
มากที่สุด
                10.  ควรจัดทำบัญชีให้ถูกต้อง  ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมส่วนมากนั้นยังไม่ได้มีการบันทึก
รายการสินค้าเข้า-ออก และยอดขายในแต่ละวัน  การทำบัญชีนั้นจัดได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญในธุรกิจ
ค้าปลีก  เนื่องจากจำเป็นต้องรู้ว่ามีกำไรหรือขาดทุนในแต่ละวัน/เดือนเท่าใด
                11.  ควรคำนึงถึงการตกแต่งร้าน  ร้านค้าปลีกที่มีสินค้าวางเต็มร้านจนไม่มีทางเดินเข้าออก
หรือเลือกซื้อสินค้า  ต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง  การจัดตกแต่งร้านเป็นสิ่งสำคัญมากในการพัฒนา  เพราะสิ่งที่ลูกค้ามองเห็นได้ก่อน  คือการจัดแสดงสินค้าในตู้กระจกหน้าร้านและทางเข้า
ถ้ามีการออกแบบที่ดีและน่าสนใจ  ก็จูงใจลูกค้าให้เข้ามาในร้านได้  ลูกค้าส่วนมากต้องการเลือกซื้อ
สินค้าจากร้านค้าที่เป็นระเบียบ  และเลือกสินค้าได้ด้วยตนเอง  ดังนั้นสิ่งที่ควรทำคือ
                         11.1  จัดแผนผังร้าน
                         11.2  การอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า
                       11.3  การจัดวางสินค้า




รูปที่  1.11  การตกแต่งร้านค้า
                12.  บริหารพื้นที่ขายให้เกิดประโยชน์สูงสุด  เป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งสำหรับร้านค้าปลีกที่
ควรนำมาปรับใช้เพื่อจัดสรรพื้นที่สำหรับสินค้าที่มีการหมุนเวียนและกำไรแตกต่างกัน
                13.  ควรศึกษาและทำความเข้าใจการส่งเสริมการตลาด  การส่งเสริมการตลาดเป็นกลยุทธ์
ที่สำคัญของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ที่นำมาใช้เพื่อจูงใจผู้บริโภค
                14.  ควรสร้างความแตกต่างด้วยสินค้า  “หนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์”  นโยบายของรัฐบาล
ที่ให้ดำเนินโครงการ  “หนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์”  หรือ One Tambon One Product (OTOP)





รูปที่  1.12  ร้านค้า  OTOP  ของอภัยภูเบศร์

                15.  ควรกล้าคิดกล้าทำ  ผู้ประกอบการควรจะมีวางแผนงานล่วงหน้า  และกล้าตัดสินใจ
ลงทุนตกแต่งร้านค้า  เพื่อให้ทันสมัยอยู่เสมอและมีการบริการลูกค้าแบบเป็นกันเอง  จึงจะทำให้
ร้านประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการด้านการต่าง ๆ

ความหมายความสำคัญ  และลักษณะของการค้าส่ง
ความหมายของการค้าส่ง
                การค้าส่ง  (Wholesaling)  หมายถึง  การซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบมาเพื่อการจำหน่ายต่อให้กับ
โรงงานอุตสาหกรรม  ผู้ค้าส่งรายอื่น  หรือผู้ค้าปลีก  จะเห็นว่าลูกค้าของผู้ค้าส่งคือกลุ่มที่ซื้อไปเพื่อการผลิตหรือเพื่อการจำหน่ายต่อ  ไม่ใช่ซื้อไปเพื่อการบริโภคเหมือนลูกค้าของผู้ค้าปลีก  จึงอาจกล่าว
ได้ว่าพ่อค้าส่งจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยผู้ผลิตวัตถุดิบหรือผู้ผลิตสินค้าสำเร็จรูปกระจายวัตถุดิบ
หรือสินค้าสำเร็จรูปไปสู่ตลาดโดยผ่านคนกลางประเภทอื่น ๆ





รูปที่  1.13  การกระจายสินค้าให้ผู้บริโภค

ความสำคัญของการค้าส่ง
1.  ธุรกิจค้าส่งช่วยสร้างเศรษฐกิจ  ธุรกิจค้าส่งสามารถสร้างรายได้มาสู่ประชาชนและสร้าง
เศรษฐกิจให้เกิดขึ้นในสังคมของประเทศได้เหมือนกับธุรกิจอื่นที่มีส่วนช่วยสังคมเจริญรุ่งเรืองได้  ใน
ปัจจุบันการค้าส่งมีการกระจายอยู่ทั่วไปแทบทุกประเภทของธุรกิจ
                2.  เพิ่มช่องทางการส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศ  ผู้ค้าส่งบางรายสามารถติดต่อทำการตลาดกับ
ต่างประเทศได้ดี  ดังนั้นข้อมูลทางการตลาดจึงมีความจำเป็นมากสำหรับผู้ค้าส่ง  เพราะสามารถช่วยเหลือด้านการข้อมูลเพื่อติดต่อตลาดต่างประเทศได้  และอาจทำให้มีโอกาสในการส่งออกได้จำนวนมาก
                3.  ช่วยสร้างรายได้ให้กับประเทศ  ซึ่งจากข้อมูลสถิติแห่งชาติ  มีข้อมูลว่าการค้าส่งจะช่วย
เพิ่มปริมาณการค้าปลีกธุรกิจในประเทศ

ลักษณะของการค้าส่ง
                ลักษณะของกิจการค้าส่งมีดังนี้
                1.  ผู้ที่ทำการค้าส่งอาจจะเป็นผู้ผลิตหรือคนกลางที่ทำการค้าส่งก็ได้
                2.  ลูกค้าของธุรกิจค้าส่งคือ  องค์การที่ซื้อไปเพื่อขายต่อ  ซึ่งเรียกว่าคนกลาง (Middleman)
หรือผู้ขายต่อ  (Reseller)
                3.  กิจกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวกับการขายสินค้าให้กับองค์การถือว่าเป็นหน้าที่ของการค้าส่ง
                4.  การลงทุน  ผู้ค้าส่งจะลงทุนจำนวนสูงมาก  และครอบคลุมพื้นที่ในทางการค้า
                5.  ทำเลที่ตั้ง  ผู้ค้าส่งจะเลือกทำเลที่ตั้งอยู่ในที่ที่มีการคมนาคมสะดวก
                6.  การบรรจุสินค้า  ผู้ค้าส่งจะเน้นขนาดบรรจุสินค้า  และปริมาณมากกว่า  1  ชิ้น
                7.  ด้านราคา  ผู้ค้าส่งจะตั้งราคาโดยการเฉลี่ยต่อหน่วยให้มีราคาต่ำ
                8.  การส่งเสริมการขาย  ผู้ค้าส่งจะให้ความสนใจในเรื่องนี้น้อยมาก
                9.  รายได้  ผู้ค้าส่งจะได้รับรายได้เพิ่มขึ้นในรูปของกำไรซึ่งเป็นผลต่างจากต้นทุน

                                ผู้ผลิต                                     คนกลาง                                                        ผู้บริโภค
                                                                                                                             ขั้นสุดท้าย (Users)          

                                                                                                                ทำหน้าที่ซื้อและ (หรือ) ขาย

รูปที่  1.14  ลักษณะการค้าส่ง

การดำเนินงานของร้านค้าส่ง
1.  ร้านค้าส่งจะมีการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการให้กับกิจการที่ซื้อไปเพื่อขายต่อ
(Reseller)  หรือนำไปใช้ในทางอุตสาหกรรม
                2.  ร้านค้าส่งจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ผลิตกับพ่อค้าปลีกหลายรายหรือพ่อค้าส่ง
อื่น ๆ ร้านค้าส่งมีความจำเป็นต้องมีความมั่นคงทางการเงิน
                3.  ลักษณะเฉพาะของร้านค้าส่ง  ผู้ค้าส่งจะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดต่าง ๆ ที่ผู้ผลิต
ไม่อาจเข้าไปทำหน้าที่การขายส่งได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ

แนวความคิดเกี่ยวกับการประกอบอาชีพค้าส่ง
                ในปัจจุบันผู้ค้าส่งมีความทันสมัยและทันต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมาก  เช่น  การทำ
การค้าส่งกับห้างสรรพสินค้า  ร้านค้าปลีกแบบลูกโซ่  เป็นต้น  ซึ่งมีแนวคิดเกี่ยวกับการค้าส่ง  ดังนี้
1.  ควรเป็นผู้ที่มีความรู้  ความสามารถ
                2.  ควรเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าหรือบริการที่นำมาจำหน่ายหรือทำธุรกิจในกิจการค้า
                3.  มีความทันต่อเหตุการณ์ด้านข่าวสาร  ข้อมูล
                4.  การนำเทคโนโลยีสารสนเทศด้านต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม

วัตถุประสงค์และหน้าที่ของผู้ประกอบการค้าปลีกและค้าส่ง
                การพิจารณากิจกรรมของการค้าปลีกและการค้าส่ง  จะพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ในการซื้อ
เป็นหลักว่านำไปใช้ต่อหรือนำไปจำหน่าย  โดยพิจารณาด้านปริมาณสินค้า  และวิธีการดำเนินงาน
ของร้านค้า  โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการค้าปลีกและค้าส่งดังต่อไปนี้
1.  เพื่อนำไปเป็นสินค้าเพื่อขายต่อ
2.  เพื่อนำไปใช้ภายในกิจการ
3.  เพื่อพิจารณาวิธีการดำเนินงานการค้าปลีกและการค้าส่ง  เช่น
     3.1  ร้านค้าปลีกจะมีการให้บริการลูกค้ามากกว่าร้านค้าส่ง
     3.2  ร้านค้าปลีกจะทำการขายโดยผ่านหน้าร้านหรือเคาน์เตอร์ซึ่งจะแตกต่างจากร้านค้าส่ง
     3.3  ร้านค้าส่งจะให้สินเชื่อ  และส่วนลดแก่ลูกค้า  ตามเงื่อนไขการชำระเงิน เช่น 2/10, n/30

หน้าที่ของผู้ประกอบการค้าปลีก
1.  การซื้อสินค้า  ผู้ประกอบการค้าปลีกมีหน้าที่เลือกซื้อสินค้าจากผู้ค้าส่ง  โดยคำนึงถึงความ
ต้องการของลูกค้า
                2.  การขายสินค้า  ผู้ประกอบการควรมีเทคนิควิธีการในการขายสินค้าทุกรูปแบบอย่างมีจริยธรรม
                3.  การเก็บรักษาสินค้า  การซื้อสินค้าจากผู้ผลิตหรือผู้ค้าส่งของผู้ค้าปลีกนั้นจะซื้อในปริมาณ
มาก  เพื่อสำรองไว้ในกรณีสินค้าขาดตลาด
                4.  การประกันสินค้า  ในการผลิตสินค้าของผู้ผลิต  หรือผู้ค้าส่ง ไม่สามารถจะประกันได้แน่นอนว่าเมื่อผลิตสินค้าออกมาแล้วจะจำหน่ายได้ทั้งหมดหรือไม่
                5.  การให้บริการแก่ลูกค้า  ผู้ประกอบการค้าปลีกควรสร้างความประทับใจให้เกิดกับลูกค้า
เพราะเป็นส่วนสำคัญในการขายและทำให้ภาพพจน์เกิดแก่ร้านค้าปลีก
                6.  การติดตามข่าวสาร  การติดตามข่าวสารจากการขายสินค้าแต่ละชนิด  เพื่อให้ทราบความ
พึงพอใจในสินค้าและบริการของตน

หน้าที่ของผู้ประกอบการค้าส่ง
1.  การจัดหาสินค้า  ผู้ประกอบการค้าส่งจะทำหน้าที่ในการจัดหาสินค้าให้กับผู้ประกอบการ
ค้าปลีกและผู้ใช้สินค้าอุตสาหกรรม
                2.  การจัดจำหน่ายสินค้า  เนื่องจากผู้ผลิตสินค้าไม่มีความสามารถ  ประสบการณ์  และเงินทุนที่เพียงพอที่จะติดต่อขายสินค้าให้แก่ผู้ประกอบการค้าปลีก
                3.  การจัดส่งสินค้าให้แก่ลูกค้า  เมื่อผู้ประกอบการค้าปลีกหรือผู้ซื้อสินค้าที่จะนำไปขายต่อ
สั่งซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการค้าส่ง
                4.  การเก็บรักษาและดูแลสินค้าคงคลัง  เพื่อให้สินค้าเพียงพอกับความต้องการของลูกค้า
ผู้ประกอบการค้าส่งจำเป็นต้องมีโกดังเก็บสินค้า
                5.  การช่วยเหลือการให้สินเชื่อแก่ลูกค้า  ผู้ประกอบการค้าส่งจะให้สินเชื่อแก่ลูกค้าในรูปแบบของส่วนลดที่เป็นเงินสด  ในกรณีที่ลูกค้าจ่ายชำระค่าสินค้าภายในกำหนดที่จะได้รับส่วนลด
                6.  การช่วยรับภาระความเสี่ยง  ผู้ประกอบการค้าส่งจะรับประกันสินค้าที่ผู้ประกอบการค้าปลีกสั่งซื้อ
                7.  การให้คำแนะนำและบริการแก่ลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการค้าปลีก  เกี่ยวกับการเลือกซื้อ
สินค้าเข้าร้าน  การจัดหน้าร้าน  การฝึกอบรมพนักงานขาย  รวมถึงการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการและการควบคุมสินค้าคงคลัง  เพื่อให้ลูกค้าเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด  และเกิดความมั่นใจในการ
ประกอบธุรกิจร่วมกับผู้ประกอบการค้าส่งต่อไป


 ***************************************************************
แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่  1

ตอนที่  2  จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.  การขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ตเป็นการประกอบอาชีพค้าปลีกลักษณะใด
     ก.  ผู้ประกอบการมีความรู้ความสามารถ                                ข.  โอกาสในการประกอบอาชีพ
     ค.  โอกาสในการประกอบอาชีพ                                              ง.  การมีมนุษยสัมพันธ์กับลูกค้า
2.  การจัดวางสินค้าในพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อให้ลูกค้าเลือกซื้อสินค้าได้สะดวกเกี่ยวข้องกับข้อใด
     ก.  ผู้ประกอบการควรมีความรู้ความสามารถ                         ข.  ลักษณะเฉพาะของร้านค้า
     ค.  การดำเนินงานของการค้าปลีก                                            ง.  โอกาสในการประกอบอาชีพ
3.  การค้าปลีกเป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างผู้ผลิตหรือผู้ค้าส่งกับผู้บริโภคถือว่ามีความสำคัญต่อใคร
      ก.  ลูกค้า                                                                                       ข.  ผู้ผลิตหรือผู้ค้าส่ง
      ค.  ประเทศ                                                                                  ง.  สังคม
4.  การค้าปลีกช่วยให้ผู้บริโภคมีความสะดวกในการซื้อสินค้าง่ายขึ้น  ถือว่ามีความสำคัญต่อใคร
     ก.  ลูกค้า                                                                                         ข.  ผู้ผลิตหรือผู้ค้าส่ง
     ค.  ประเทศ                                                                                    ง.  สังคม
5.  ลูกค้านิยมซื้อสินค้าร้านค้าปลีกสมัยใหม่แทนการซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกใกล้บ้าน  เป็นแนว
     ความคิดเกี่ยวกับข้อใด
     ก.  ทัศนคติของผู้ประกอบอาชีพค้าปลีก                                  ข.  พัฒนาและปรับปรุงกิจการอยู่เสมอ
     ค.  พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภค                       ง.  ศึกษากลยุทธ์ร้านค้าปลีกสมัยใหม่
6.  การที่ธุรกิจค้าส่งสร้างรายได้มาสู่ประชาชนในสังคมของประเทศมีความสำคัญในด้านใด
     ก.  ช่วยเพิ่มช่องทางจัดจำหน่าย                                                                ข.  ช่วยสร้างเศรษฐกิจ
     ค.  ช่วยสร้างรายได้ให้กับประเทศ                                            ง.  ถูกทุกข้อ
7.  ข้อใดเป็นลักษณะของการค้าส่ง
     ก.  เลือกทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม                                                   ข.  เป็นองค์กรที่ซื้อสินค้าไปขายต่อ
     ค.  เป็นตัวกลางระหว่างผู้ผลิตกับผู้ค้าปลีก                             ง.  ถูกทุกข้อ
8.  กิจกรรมการส่งเสริมการขายในกิจการค้าส่งจะเน้นกลยุทธ์แบบใด
     ก.  กลยุทธ์ดึง                                                                                                ข.  กลยุทธ์ผลัก
     ค.  กลยุทธ์ผสม                                                                             ง.  ถูกทุกข้อ
9.  ร้าน ก รุ่งเรืองขายเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน  50  เครื่อง  ให้กับบริษัทไทยพาณิชย์  จำกัด  เพื่อ
     นำไปขายต่อ  ถือเป็นการค้าในลักษณะใด
     ก.  การค้าปลีก                                                                               ข.  การค้าส่ง
     ค.  การขายโดยพนักงานขาย                                                     ง.  การขายตรง
10.  จากข้อ  9  ถ้าร้าน ก รุ่งเรืองขายเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน  1  เครื่อง  ให้กับบริษัทไทยพาณิชย์
       จำกัด  เพื่อนำไปใช้ในกิจการ  ถือเป็นการค้าในลักษณะใด
       ก.  การค้าปลีก                                                                            ข.  การค้าส่ง
       ค.  การขายโดยพนักงานขาย                                                   ง.  การขายตรง


***********************************

เฉลย
                1. ค                                        6.  ข
                2.  ก                       7.  ง
                3.  ข                       8.  ข
                4.  ค                       9.  ข
                5.  ค                                  10.  ก




***************************